|
|
|
|
|
|
|
ชักหรือกระตุก |
|
|
อาการชักในสุนัขเป็นการแสดงออกซึ่งการขาดการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
หรือมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ไม่ว่าชักมากชักน้อยโดยไม่ถึงกับหมดความรู้สึก
ลักษณะของการชักก็แตกต่างกันไป เช่น กล้ามเนื้อกระตุก
ลักษณะของการชักก็แตกต่างกันไป เช่นกล้ามเนื้อกระตุกเป็นระยะๆ
เหยียดเกร็งสี่ขา ตาเหลือก ลิ้นห้อย คอพับ ฯลฯ สาเหตุของการชักมีต่างกัน
เช่น โรคลมบ้าหมู เนื่องจากมีความผิดปกติทางสมอง ขาดธาตุแคลเซียม
หรือแคล เซียมในโลหิตต่ำลง เช่น กรณีแม่สุนัขเลี้ยงลูกจำนวนมาก
ๆ, ความกระทบกระเทือนในสมอง เช่น ถูกตีที่หัว, ไข้สูงมาก
ๆ, เป็นโรคจิตประสาท, มีพยาธิในหู หรือกินสารพิษบางชนิดก็ทำให้เกิดอาการชักได้
เมื่อเห็นสุนัขมีอาการกระตุกหรือชัก ควรจับสุนัขไว้
อย่าให้ได้รับอันตรายแล้วนำไปไว้ในที่เงียบๆ พยายามควบคุม
อย่าให้หัวของสุนัขไปฟาดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะขณะชักสุนัขจะไม่รู้สึกตัว
ทรงตัวไม่อยู่และเหวี่ยงหัวไปมา หาทางใช้ผ้าม้วนเป็นก้อนยัดระหว่างฟันกรามเพื่อนป้องกันสุนัขกัดลิ้นตัวเอง
แต่ต้องระวังสุนัขกัดมือด้วย ในระหว่างนี้อย่าป้อนยาน้ำหรืออาหารเพราะสุนัขอาจสำลักเอาเอาหารหลุดลงไปในหลอดลมอาจทำให้หายใจไม่ได้
การใช้น้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำเย็นจัดวางบนหัว ตามตัว
และใช้มือบีบนวดที่หัวและคอจะทำให้อาการคลายลง ก่อนนำส่งแพทย์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|