มนุษย์และสุนัขเริ่มรู้จักกันในตอนปลายสมัยของสมัยยุคหินต้น
และมาคบหาสนิทสนมถึงกับอยู่บ้านเดียวกัน กินอยู่หลับนอนด้วยกันในตอนแรกของสมัยยุคหินปลายซึ่งนับเป็นเวลาก็ตกระหว่างสี่หมื่นถึงหกหมื่นปีมาแล้ว
สุนัขเริ่มมารู้จักคนจนในที่สุดถึงคบหามาเป็นมิตรกันจนทุกวันนี้
เป็นหมาป่าพันธุ์หนึ่งมีชื่อสกุลเป็นภาษาละตินว่า
Conis Auseus แปลเป็นไทยว่าสุนัขทอง เพราะมีขนยาวเป็นสีทองเหลืองอร่ามไปทั้งตัว
พันธุ์สุนัขทองนี้เรียกได้ว่าเป็นต้นตระกูลสุนัข
ที่เราเลี้ยงกันอยู่ทุกวันนี้ ต่อมามีสุนัขป่าอีกพันธุ์หนึ่งที่มนุษย์นำมาเลี้ยงมีชื่อละตินว่า
Conis Lupees แปลว่าสุนัขป่า สุนัขชนิดนี้เชื่องกว่าสุนัข
มีขนยาว หางเป็นแผง หูตั้ง กระดูกแก้มโหนก และหางจะเอนขึ้นข้างบน
มีนิสัยชอบรักอิสระกว่าสุนัขทอง สุนัขป่านี้เมื่อมาอยู่กับคนก็ผสมพันธุ์กับสุนัขทองออกลูกหลานสืบมาเป็นสุนัขพันธุ์ต่าง
ๆมากมายแต่พันธุ์สุนัขทุกวันนี้ได้รับเชื้อสายมาจากสุนัขทองเกือบทั้งสิ้น
การค้นคว้าวิจัยและศึกษาเรื่องราวของสุนัขได้มีขึ้นก่อนในประเทศอังกฤษ
ในแถบยุโรปและอเมริกา แล้วจึงขยายและแพร่หลายไปในส่วนต่าง
ๆ ของโลก ในประเทศอเมริกาได้มีการจัดตั้งเป็นสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นในปี
ค.ศ. 1878 สุนัขพันธุ์แท้ชนิดแรกที่ได้จดทะเบียนในอเมริกาคือ
สุนัขพันธุ์อิงลิซเซทเตอร์ ( English Setter ) ในประเทศอังกฤษได้มีการรวบรวมกันตั้งสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นในปี
ค.ศ. 1859 ในครั้งแรกสมาคมนี้ได้รับรองสุนัขพันธุ์แท้ให้จดทะเบียนได้
40 ชนิดพันธุ์ และได้จัดวิธีการรับรองสุนัขพันธุ์ต่าง
ๆ เพื่อความเหมาะสมถึง 2 คราว ในปี ค.ศ. 1881 สมาคมนี้ได้ให้การรับรองพันธุ์แท้ต่าง
ๆ รวมแล้วเป็นจำนวน 46 พันธุ์ การแก้ไขเพิ่มเติมการับรองเป็นสุนัขพันธุ์แท้เป็นครั้งสุดท้าย
เมื่อปี ค.ศ.1974 ได้มีสุนัขที่ให้การรับรองทั้งหมด
100 ชนิด
สำหรับในประเทศไทย ได้มีผู้สนใจการเลี้ยงสุนัขรวบรวมกันจัดตั้งสมาคมขึ้นเหมือนกัน
โดยมีความปรารถนาที่จะส่งเสริมบำรุงและอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้เลี้ยงสุนัขเหมือนกับต่างประเทศ
โดยใช้ชื่อว่า สมาคมผู้นิยมสุนัขแห่งประเทศไทย ได้จดทะเบียนตั้งสมาคมเมื่อปี
พ.ศ. 2498 นับว่าเป็นการวางรากฐานการเลี้ยงสุนัขขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรก
และตั้งใจที่จะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้เลี้ยงสุนัขในประเทศไทยได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ
(หมาหลังอาน : ปรีชา เพ็ญเจริญรุ่ง)
|